วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเพณีและวัฒนธรรม

เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่



ปีใหม่เมือง(สงกรานต์) เทศกาลสงกรานต์ ตามปฏิทินโหราศาสตร์ของชาวล้านนานั้น จะถือเอาวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษซึ่งจะไม่ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ตามประกาศ ของทางการเสมอไปโดยจะมีวันต่างๆและมีพิธีกรรม และการละเล่นหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกัน เริ่มจาก
วันสังกรานต์ล่อง ต้นเค้าของคำนี้มาจาก ภาษาสันสกฤตซึ่งออกเสียงแบบล้านนาว่า สัง-ขานซึ่ง ทำให้มีผู้เลยเข้าใจว่าเป็นสังขารได้ด้วยและวันสังขานล่องนี้คือวันที่พระ อาทิตย์โคจรไปสุดราศีมีนจะย่างเข้าสู่ราศีเมษ ตามความเชื่อแบบล้านนา กล่าวกันว่าในตอนเช้ามืดของวันนี้ปู่สังขาน ย่าสังขาน จะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีแดง สยายผมล่องแพไปตามลำน้ำ ปู่หรือย่าสังขาน นี้ จะนำเอาสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาตามตัวมาด้วย จึงต้องมีการยิงปืนจุดประทัดหรือทำให้เกิดเสียงดังต่างๆนัยว่าเป็นการไล่สัง ขาน และถือกันว่าปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังขานแล้วนั้นจะมีความขลังมาก ในวันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่จะมีการปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาดซักผ้านำที่นอนออก ไปตากเก็บกวาดและเผาขยะมูลฝอยผู้หญิงก็จะมีการดำหัว(สระผม)เป็นกรณีพิเศษ ในวันสังขานล่องนี้ยังไม่มีพิธีทางศาสนาจะมีแต่เพียงผู้ใหญ่บางท่าน อาจเรียกลูกหลานมาพร้อมกันแล้วให้หันหน้าไปทางที่ที่โหรกำหนดแล้วกล่าวคำว่า สัพพะเคราะห์ สัพพะอุบาทว์ สัพพะพยาธิโรคา ทั้งมวลจุ่งตกไฟกับสังขานในวันนี้ยามนี้เน่อ และวันนี้เองจะเป็นวันเริ่มต้นการเล่นรดน้ำสงกรานต์เป็นต้นไปจนสิ้นสุดช่วง เทศกาลสงกรานต์
จาก วันสังขานล่อง ต่อมาก็จะเป็นวันเนา หรือวันเน่าชาวบ้านจะพากันไปซื้อของทำบุญ เมื่อถึงเวลาบ่ายก็จะมีการขนทรายเข้าวัด นำมากองรวมกันทำเป็นเจดีย์ โดยถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนในส่วนที่ติดเท้าของตนออกจากวัด ซึ่งเหมือนกับการลักของจากวัด และที่บ้านชาวบ้านก็จะนำกระดาษสีต่างๆมาตัดทำเป็นตุงหรือธงนั่นเอง มาติดกับก้านต้นเขือง เพื่อเตรียมนำมาปักที่เจดีย์ทรายในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันพญาวัน วันเนานี้อาจเรียกอย่างหนึ่งว่า วันดา เพราะเป็นวันที่ ดา (วันที่จัดเตรียมของต่างๆที่จะนำไปทำบุญ) และเป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนาในวันเนานี้ถือเป็นวันที่ห้าม กระทำในสิ่งที่ไม่เป็นมงคลโดยเฉพาะห้ามด่าทอทะเลาวิวาทกันกล่าวกันว่าผู้ใด ที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้หรือทะเลาะวิวาทก็จะไม่ดีหรือเป็นอัปมงคลไปทั้งปี ต่อไปคือวันพญาวัน ซึ่งถือเป็นวันเถลิงศกเริ่มต้นจุลศักราชใหม่ เป็นวันที่มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่จะนำเอาสำรับอาหารคาวหวานไปทำบุญ ที่วัด ตานขันข้าว(ถวายสังฆทาน) ให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว





ต่อจากนั้นก็จะพากันนำตุงที่ทำไว้ไปปักบน เจดีย์ทราย ซึ่งถือว่ามีอานิสงฆ์สามารถช่วยให้ผู้ตายที่มีบาปหนักถึงขั้นตกนรกนั้น สามารถพ้นจากขุมนรกได้โดยที่ชายตุงจะได้พันตัวผู้ตกนรกนั้นแล้วดึงพ้นจากขุม นรกขึ้นมา ในช่วงบ่ายก็จะเข้าสู่ประเพณีการดำหัวหรือคารวะผู้เฒ่าผู้แก่ บิดามารดา ญาติพี่น้องผู้มีอาวุโส เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษอันเนื่องจากที่อาจได้ประพฤติในสิ่งที่ไม่สมควรต่อ ท่านเหล่านั้น
ในวันที่4เรียกว่าวันปากปี เป็นการเริ่มต้นปีชาวบ้านจะดำหัววัด คารวะเจ้าอาวาสที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันดำหัวเจ้าบ้าน (ศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน) ตลอดจนทำพิธี แปลงบ้าน” หรือสงเคราะห์บ้าน เริ่มต้นด้วยการขั้นท้าวทั้งสี่ บูชาท้าวจตุโลกบาลก่อน แล้วจึงนิมนต์พระมาเจริญพุทธมนต์ตกเย็นก็จะทำพิธีปูจาเทียน คือนำเทียนที่มีไส้ทำด้วยกระดาษสาเขียนเลขยันต์มาจุดบูชาพระพุทธรูป
วันที่ถือเป็นวัน ปากเดือน เป็นวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ นิยมส่งเคราะห์ต่างๆ เช่น ส่งชน ส่งแถน ส่งเคราะห์นรา เป็นต้น ส่วนการดำหัวนั้น จะดำเนินต่อไปได้ตลอดเดือนเมษายน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเพณีดำหัวล้านนา
ประเพณีดำหัวเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลขึ้นปีใหม่ จะไม่มีการดำหัวก่อนขึ้นปีใหม่ แต่จะเริ่มดำหัวตั้งแต่ วันพญาวัน 15 เมษายน จนถึงสิ้นเดือน
ประเพณีดำหัว เป็นประเพณีที่ผู้น้อย คารวะผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อขอขมาหากได้ล่วงเกินในช่วงปีที่ผ่านมาและขอพรปีใหม่จากท่าน ไม่มีประเพณีผู้น้อยให้พรผู้ใหญ่
วิธี ดำหัว ลูกหลานเอาผ้า(ปัจจุบันเป็นของอื่นประกอบ)ดอกไม้ธูปเทียนอย่างละ1คู่สำหรับ 1คนและน้ำขมิ้นส้มป่อยซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่จะเอามือวักน้ำส้มป่อยลูบศรีษะเอง ประเพณีล้านนาไม่มีการรดมือผู้ใหญ่